ข้อบังคับสมาคม

 

ข้อบังคับของสมาคมฯ

 

   ฉบับที่ ๑       จัดทำเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔
   ฉบับที่ ๒      ปรับปรุงแก้ไขฉบับแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗
   ฉบับที่ ๓      ปรับปรุงแก้ไข เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐
                        ประกาศใช้ เมื่อ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
   ฉบับที่ ๔      ปรับปรุงแก้ไข เมื่อ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
   ฉบับที่ ๕      ปรับปรุงแก้ไข เมื่อ ๒๖ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๖
   ฉบับที่ ๖       ปรับปรุงแก้ไข เมื่อ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
   ฉบับที่ ๗       ปรับปรุงแก้ไข เมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

 

  

ข้อบังคับสมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.๒๕๖๓
_______________________________________________________

 

                    เห็นสมควรให้ยกเลิกข้อบังคับสมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.๒๕๖๑ และอาศัยมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี  สมาคมวิทยาลัยป้องกัน
          ราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

                    ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓ โดยที่เป็นการสมควร จึงมีมติให้ปรับปรุงข้อบังคับของสมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์
          ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

 

หมวด ๑
ความทั่วไปและวัตถุประสงค์

 

                    ข้อ ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.๒๕๖๓” ในข้อบังคับนี้

                            ๑.๑ “สมาคม” หมายความว่า สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สวปอ.) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Association of  National
          Defence College of Thailand Under The Royal  Patronage of  His Majesty The King.”(ANDCT)

                            ๑.๒ “คณะกรรมการบริหาร” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารสมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

                    ข้อ ๒. เครื่องหมายของสมาคม มีลักษณะเป็นรูปโล่ยอดแหลม รองรับเครื่องหมายรัฏฐาภิรักษ์ เบื้องล่าง มีข้อความ “สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร” และ
          “The Association of National Defence College of  Thailand” ปลายล่างของโล่เป็นแพรแถบ มีข้อความ “ในพระบรมราชูปถัมภ์” และ “Under The Royal  Patronage”

 

 

                    ข้อ ๓.  สำนักงานใหญ่ของสมาคม ตั้งอยู่ ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เลขที่ ๖๔ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร  ๑๐๔๐๐

 

                    ข้อ ๔. วัตถุประสงค์ของสมาคม

                                                ๔.๑  ส่งเสริมให้มีการกระทำอันเป็นการนำมาซึ่งเกียรติยศ และชื่อเสียงของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรและสมาคม

                            ๔.๒  ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาจารย์ นักศึกษาเก่า นักศึกษาปัจจุบัน สมาชิก ทุกคน และครอบครัว พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือซึ่งกัน
          และกันเมื่อเกิดทุกข์ภัยในมวลสมาชิก

                            ๔.๓  ส่งเสริมความรู้ การศึกษา งานการวิเคราะห์ และวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนวัฒนธรรม ศีลธรรม เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการ

          ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ เผยแพร่ความคิดเห็นทางวิชาการตามวัตถุประสงค์ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

                                                ๔.๔  ส่งเสริมสวัสดิการสงเคราะห์ต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการกระทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม ทั้งในด้านวิชาการและสาธารณกุศล

                                                ๔.๕  ส่งเสริมการกีฬา การสันทนาการ  และกิจกรรมด้านศิลปะอื่น ๆ

                            ๔.๖  สมาคมนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

 

หมวด ๒
สมาชิกภาพ

  

                    สมาชิกมี ๔ ประเภท

                           ๕.๑ สมาชิกสามัญ ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรทุกรุ่นทุกหลักสูตร

                           ๕.๒ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ทำ
          คุณประโยชน์ให้แก่สมาคมเป็นพิเศษซึ่งคณะกรรมการบริหารเชิญเข้าเป็นสมาชิก

                           ๕.๓ สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ คู่สมรส และบุตรธิดาของสมาชิกสามัญ รวมทั้งข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ซึ่งรับราชการอยู่ในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

                           ๕.๔ สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลที่สำเร็จการศึกษา หรืออบรมในหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ขอสมัครเป็นสมาชิกสมทบ และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ
          บริหารสมาคมให้เข้าเป็นสมาชิกสมทบ

 

                    ข้อ ๖. การขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ และสมาชิกสมทบ ต้องทำตามแบบ ที่คณะกรรมการบริหาร กำหนดขึ้นเป็นระเบียบของสมาคม
          ว่าด้วยแบบใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก

 

                    ข้อ ๗. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก

                           ๗.๑ นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรทุกคน เมื่อเริ่มเข้าศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ต้องยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ ตามแบบที่กำหนด
          เป็นระเบียบของสมาคม

                           ๗.๒ ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบ จะต้องยื่นใบสมัครขอเข้าเป็นสมาชิกสมทบ โดยต้องได้รับ การรับรองจากคณะกรรมการบริหารสมาคมอย่างน้อย ๒ คน
          ด้วยการลงชื่อให้การรับรองในแบบใบสมัคร ที่กำหนดเป็นระเบียบของสมาคม แล้วเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคม เพื่อพิจารณาอนุมัติ

 

                    ข้อ ๘. สมาชิกมีหน้าที่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ระเบียบสมาคม รวมทั้งต้องรักษา คุณธรรมความดีงาม เชิดชูเกียรติของสมาคมทุกวิถีทาง

 

                    ข้อ ๙. สมาชิกมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคม  และได้รับประโยชน์ตามที่สมาคมจะอำนวยให้ได้ตลอดจนการรับแต่งตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ ของคณะกรรม
          การบริหารของสมาคม การขอใช้สถานที่ของสมาคมการประดับเครื่องหมาย สมาคม และการเสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการบริหารเป็นลายลักษณ์อักษร

 

                    ข้อ ๑๐. สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อ

                             ๑๐.๑ ตาย

                             ๑๐.๒ ลาออก

                                                  ๑๐.๓ ออกตามมติของคณะกรรมการบริหาร โดยถือคะแนนเสียง ๒ ใน ๓ ของคณะกรรมการบริหารทั้งหมด

 

หมวด ๓
ค่าจดทะเบียนและค่าบำรุงตลอดชีพของสมาชิก

 

                    ข้อ ๑๑. ให้ชำระคราวเดียว ๒,๐๐๐ บาท ยกเว้น สมาชิกกิตติมศักดิ์ และสมาชิกวิสามัญไม่ต้องชำระ

 

หมวด ๔ 
คณะกรรมการบริหาร

 

 

                    ข้อ ๑๒. ให้มีคณะกรรมการสมาคมขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารงาน และเป็นตัวแทนของสมาคมประกอบด้วย นายกสมาคมและกรรมการอื่น ๆ มีจำนวนไม่ต่ำกว่า
          ๑๙ คน และไม่เกิน ๓๕ คน เพื่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอุปนายกสมาคม เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ และกรรมการ    ในตำแหน่งอื่น ๆ ที่เห็นสมควร

 

                    ข้อ ๑๓. ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นนายกสมาคมโดยตำแหน่งมีวาระอยู่ในตำแหน่งตลอดระยะเวลา ที่ดำรงตำแหน่ง และครบวาระเมื่อพ้นจากตำแหน่ง
          คณะกรรมการบริหารมีวาระในการบริหารและสิ้นสุดลงตามวาระของนายกสมาคมคณะกรรมการบริหารซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติ  หน้าที่ต่อไปจนกว่า
          คณะกรรมการบริหารชุดใหม่เข้ารับหน้าที่

 

                                  ข้อ ๑๔. ให้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง   

                                                 ๑๔.๑ ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศเป็นอุปนายก 

                                                 ๑๔.๒  ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเป็นเลขานุการ 

                                                 ๑๔.๓  รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเป็นผู้ช่วยเลขานุการ 

                                                 ๑๔.๔  ผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเป็นนายทะเบียน

                                                 ๑๔.๕  ประธานนักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรซึ่งกำลังศึกษาอยู่ให้เข้าดำรงตำแหน่ง อุปนายกในปีที่เข้าศึกษาฯ

 

 

หมวด ๕
การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร

 

                     ข้อ ๑๕.   สมาชิกสามัญมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของสมาคม

 

                     ข้อ ๑๖.   ยกเลิก

 

                    ข้อ ๑๗.   ให้นายกสมาคมเป็นผู้เลือกและเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยเลือกจากสมาชิกสามัญเข้าร่วม    บริหารงาน และประกาศให้สมาชิกทราบ

 

                    ข้อ ๑๘.   เมื่อตำแหน่งนายกสมาคมว่างลงเพราะเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจแต่งตั้ง อุปนายก ทำหน้าที่แทนนายกสมาคมอีกตำแหน่งหนึ่ง
          ส่วนตำแหน่งอุปนายก หากว่างลง ให้อุปนายกที่ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่เป็นผู้รักษาการแทน

 

                    ข้อ ๑๙. ถ้ากรรมการว่างลงก่อนครบวาระตามข้อ ๑๓ ให้นายกสมาคมแต่งตั้งใหม่ได้ ภายใน ๑๕ วันนับจากวันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง และให้ประกาศให้สมาชิกทราบ

          เมื่อกรรมการบริหารตามตำแหน่งในข้อ ๑๔ ว่างลง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร อาจพิจารณาเสนอบุคคลที่เหมาะสมเข้ารักษาการ
          แทนได้โดยต้องแจ้งให้นายกสมาคมทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของงานที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ เป็นหลัก และนายกสมาคมจะต้องประกาศให้
          สมาชิกทราบตามกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง

 

                    ข้อ ๒๐. นายกสมาคมหรือคณะกรรมการบริหารที่ตั้งตาม ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ จะมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

 

 

หมวด ๖ 
การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร

 

 

                     ข้อ ๒๑. คณะกรรมการบริหาร มีอำนาจหน้าที่

                                                   ๒๑.๑ บริหารกิจกรรมของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมและความต้องการของสมาชิก

                                                   ๒๑.๒  กำหนดระเบียบเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารกิจกรรมสมาคม รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกระเบียบ ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้
          เกิดประโยชน์แก่มวลสมาชิกและการบริหาร ของสมาคมและแจ้งให้สมาชิกทราบ

                                                   ๒๑.๓ แต่งตั้งสมาชิก หรือผู้มีความรู้ความสามารถเป็นอนุกรรมการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือที่ปรึกษาเพื่อช่วยดำเนินงานเฉพาะกิจของสมาคม
          เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการบริหาร โดยอยู่ในตำแหน่งตามวาระของคณะกรรมการบริหาร 

                              ๒๑.๔ เชิญสมาชิกและแต่งตั้งเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ตามข้อ ๕.๒ เป็นคณะที่ปรึกษาต่าง ๆ ตามความจำเป็นแล้วแจ้งให้สมาชิกทราบ

                                                   ๒๑.๕  อนุมัติการเข้ข้อ ๒๒ องค์ประชุมของคณะกรรมการบริหารแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า ๑๐ คน การลงมติให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
          ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาดตัดสิน

 

                    ข้อ ๒๒. องค์ประชุมของคณะกรรมการบริหารแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า ๑๐ คน การลงมติให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุม
          เป็นผู้ออกเสียงชี้ขาดตัดสิน

 

                    ข้อ ๒๓. คณะกรรมการบริหารอาจเชิญบุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมด้วยก็ได้ แต่บุคคลเหล่านี้ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ

 

                    ข้อ ๒๔. นายกสมาคม มีอำนาจหน้าที่ควบคุมบริหารกิจการทั้งปวง และลงนามในเอกสารในนามของสมาคม  เป็นผู้แทนสมาคม  มีหน้าที่เรียกประชุมใหญ่
          สามัญประจำปี ประชุมคณะกรรมการบริหารทั้งคณะ หรือบางส่วนหรือแต่ละฝ่ายตามแต่จะเหมาะสม แต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีค่าตอบแทนของสมาคม
          หรือตามความเห็นชอบคณะกรรมการบริหารส่วนการตีความในข้อบังคับของสมาคมหากเป็นที่สงสัยให้นายกสมาคมเป็นผู้ชี้ขาด

 

                    ข้อ ๒๕. อุปนายกสมาคม  มีหน้าที่ช่วยเหลือนายกสมาคม ในการปฏิบัติหน้าที่และการบริหารงานของสมาคม ตามที่นายกสมาคมมอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่แทน
          เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 

                    ข้อ ๒๖. เลขานุการ มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้านสารบรรณและปฏิคมของสมาคม อีกทั้งรับผิดชอบในการ จัดเตรียมการประชุมตลอดจนการนัดหมาย
          แจ้งระเบียบวาระการประชุมและทำหน้าที่จดบันทึก รายงานการประชุมต่าง ๆ รวมทั้งยกร่างการโต้ตอบจดหมายอันเกี่ยวกับกิจการของสมาคมตามมติ
          ของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อนายกสมาคมลงนาม และรับผิดชอบเกี่ยวงานพัสดุและทรัพย์สินของสมาคม จัดทำบัญชีทรัพย์สิน สำรวจทรัพย์สินประจำปี
          และกิจการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมายเป็นผู้ประสานงานทั่วไปในกิจการของสมาคม ตามคำสั่งของนายกสมาคม

 

                   ข้อ ๒๗. เหรัญญิก มีหน้าที่ในการรับผิดชอบ ควบคุมการรักษาสินทรัพย์ กองทุน และการเงินของสมาคม จัดทำบัญชีการเงิน การรับ - จ่ายเงินตามใบสำคัญ
          และหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน เก็บ รักษาหลักฐานการเงินการบัญชีตั๋วเงินและตราสารใบสำคัญการจ่ายเงิน ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากนายกสมาคม หรืออุปนายกสมาคม
          ก่อนเก็บหลักฐานไว้ โดยสามารถตรวจสอบได้ทุกขณะ

                   ข้อ ๒๘. นายทะเบียน มีหน้าที่ในการรับผิดชอบงานทะเบียนสมาคม การจัดทำและปรับปรุงทะเบียน ของสมาชิกสมาคมให้ทันสมัยอยู่เสมอ และการรับสมาชิกใหม่
          รวมทั้งงานทางธุรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                  ข้อ ๒๙. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ในการวางแผนและดำเนินการในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ แก่สมาชิก สื่อมวลชนและสังคมให้มีความเข้าใจในการดำเนินงาน
          ของสมาคม ตลอดจน การติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันของสมาชิก

                  ข้อ ๓๐. กรรมการเป็นคณะกรรมการบริหาร ให้บริหารงานสมาคมเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์ต่อสมาคมและปฏิบัติงานตามที่นายกสมาคมมอบหมาย
          เมื่อรวมกับตำแหน่งที่กำหนดข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนข้อบังคับกำหนดไว้ใน ข้อที่ ๑๒

 

หมวด ๗
การประชุมใหญ่

 

 

                  ข้อ ๓๑. การประชุมใหญ่ของสมาคมฯ ๒ ชนิด คือ

                           ๓๑.๑ ประชุมใหญ่สามัญ

                           ๓๑.๒   ประชุมใหญ่วิสามัญ

 

                  ข้อ ๓๒. คณะกรรมการบริหารจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี

 

                  ข้อ ๓๓. การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ  และการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุ วัน เวลา
          และสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้  สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วันและประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
          ๗ วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่

 

                  ข้อ ๓๔. การประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้

                           ๓๔.๑ รับรองรายงานการประชุม

                           ๓๔.๒ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี

                                              ๓๔.๓ แถลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย และงบดุลของปีที่ผ่านมา

                                             ๓๔.๔ ยกเลิก

                          ๓๔.๕ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี

 

                  ข้อ ๓๕. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี  เมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมจะต้องมีสมาชิกสามัญ เข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม
          แต่ถ้าถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมก็ให้ขยายเวลาออกไปอีกพอสมควร เมื่อครบกำหนดเวลาที่ขยาย ออกไปแล้วยังมีสมาชิกสามัญ
          เข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้งดการประชุมคราวนั้นไป และให้จัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้
          ไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์ประชุมการลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติ
          มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาดตัดสิน

                  ข้อ ๓๖.   ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคม และอุปนายก ไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถ       จะปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการ
          ที่มาร่วมประชุม คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

                  ข้อ ๓๗.   การประชุมใหญ่วิสามัญอาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการบริหารเห็นควรจัดให้มีขึ้นหรือ เกิดขึ้น  ด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า
          ๑๐๐  คน และสมาชิกที่เข้าชื่อจะต้องเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะถือเป็นองค์ประชุม

 

หมวด ๘
การเงินและทรัพย์สิน

 

 

                  ข้อ ๓๘. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารเงินรายรับของสมาคม ให้นำเข้าฝากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มี
          ธนาคารค้ำประกัน อย่างช้าภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่เหรัญญิกสมาคมฯ ได้รับมอบในบัญชีของสมาคมก่อน แล้วจึงจะขอเบิกจ่ายได้ตามระเบียบว่าด้วยการเงินของสมาคมฯ
          ให้คณะกรรมการบริหาร สามารถกำหนดระเบียบการปฏิบัติว่าด้วยการใช้จ่ายเงินของสมาคม เพื่อประโยชน์สูงสุดภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ของสมาคม
          และให้พิจารณาปรับค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ของสมาคมตามวงรอบประจำปี

 

                  ข้อ ๓๙. การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรืออุปนายกที่นายกสมาคม มอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกับ
          เหรัญญิกหรือผู้ช่วยเหรัญญิก พร้อมกับประทับตราของสมาคม จึงจะถือว่าใช้ได้

 

                  ข้อ ๔๐. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคม ได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐บาท (สามแสนบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร

 

                  ข้อ ๔๑. ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคม ได้ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีสมาคม
          ทันทีที่โอกาสอำนวย 

 

                  ข้อ ๔๒. เหรัญญิกจะต้องทำ บัญชี รายรับ-รายจ่าย และงบดุลให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป การรับ-จ่ายเงิน ทุกครั้งจะต้องมี
          หลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของนายกสมาคม หรืออุปนายก ที่นายกสมาคมมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนพร้อมกับ
          ประทับตราของสมาคมทุกครั้ง

 

                 ข้อ ๔๓. ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต

 

                 ข้อ ๔๔. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการบริหาร และสามารถจะเชิญกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม 
          เพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้

 

                 ข้อ ๔๕. ให้ถือรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของทุกปี

 

                 ข้อ ๔๖. คณะกรรมการบริหาร จะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ

 

หมวด ๙
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ และการเลิกสมาคม

  

                 ข้อ ๔๗. ข้อบังคับของสมาคม จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้นและองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
          ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือจำนวนตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกสามัญ
          ที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด แต่ถ้าถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุม ไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้ขยายเวลาออกไปอีกพอสมควร แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ขยาย 
          ออกไปแล้วยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมก็ให้งดการประชุมคราวนั้นไป และให้จัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายใน ๑๔ วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก
          การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์ประชุมการลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
          แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาดตัดสิน ในส่วนระเบียบเพิ่มเติมจากข้อบังคับเฉพาะเรื่องที่ไม่ชัดเจนในการปฏิบัติให้คณะกรรมการ
          บริหารสมาคมฯ สามารถออกระเบียบเพิ่มเติมได้ตามวัตถุประสงค์ และตามความจำเป็นในการปฏิบัติ

 

                 ข้อ ๔๘. การเลิกสมาคม จะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมี
          คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือจำนวนตั้งแต่
          ๑๐๐ คน ขึ้นไป

                 ข้อ ๔๙. เมื่อสมาคมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ตกเป็นของสภากาชาดไทยหรือ
          นิติบุคคลอื่นใด(ผู้รับต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์) ตามมติที่ประชุมข้อ ๔๗

 

หมวด ๑๐
บทเฉพาะกาล

 

ข้อ ๕๐.  ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ สมาคมได้รับอนุญาตต่อนายทะเบียนประจำ กรุงเทพมหานครแล้ว

ข้อ ๕๑.  ให้คณะกรรมการบริหารชุดพิจารณาข้อบังคับนี้ บริหารจัดการตามข้อบังคับเดิมไปจนกว่าจะครบวาระในระยะเวลาที่เหลืออยู่ ตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓

 

 

 

Visitors: 163,985